รายละเอียด:
รูปเหมือนพระวิษณุกรรม 69 ปี ปทุมวัน 1 สิงหาคม 2548
สวยแชมป์ กล่องเดิม

รูปเหมือนพระวิษณุกรรม 69 ปี ปทุมวัน 1 สิงหาคม 2548
พระวิศวกรรม หรือเรียกได้อีกหลายชื่อว่า พระวิษณุกรรม, พระวิสสุกรรม, พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม เป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา
พระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆจากพระอินทร์ เพื่อสร้าง อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย เป็นผู้นำวิชาช่าง มาสอนแก่มนุษย์ นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้
ช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยเรามักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน โดยนิยมสร้างอยู่สองท่า คือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือ ผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือ ดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก
ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว

รูปเหมือนพระวิษณุกรรม 69 ปี ปทุมวัน 1 สิงหาคม 2548
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ พระวิษณุกรรม และ พระวิษณุ
คนไทยเรียกพระวิศวกรรมว่า 'พระวิษณุกรรม' และในที่สุดได้กร่อนลงเหลือเพียง 'พระวิษณุ' ซึ่งเป็นชื่อของเทพที่คนไทยรู้จักกันในฐานะหนึ่งใน ๓ เทพสำคัญของศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ทำให้หลายคนเข้าใจว่าพระวิษณุเป็นเทพแห่งวิศวกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ในพระไตรปิฎก (อรรถกถา) กล่าวว่า ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์ (ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เช่นในพระเวสสันดรชาดก เป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา)
นอกจากจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ ดังจะเห็นได้จากผลงาน ๒ ประการที่ว่านี้แล้ว พระวิศวกรรมายังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูป ปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพานและอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ว่านี้
"กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร ฯ มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งเทวดานั้น พระวิษณุกรรม เป็นผู้สร้าง ตามพระบัญชาของพระอินทร์

รูปเหมือนพระวิษณุกรรม 69 ปี ปทุมวัน 1 สิงหาคม 2548
โรงเรียนช่างกลแห่งแรกของประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2475 ในนาม "โรงเรียนอาชีพช่างกล" ณ ตึกพระคลังข้างที่ ตรอกกัปตันบุช ถนนสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร โดยคณะนายทหารเรือ นำโดย น.อ. พระประกอบกลกิจ ร.น. และพลเรือตรีสงบ จรูญพร ร.น. กับเรือเอกทิพย์ ประสานสุข ร.น. เป็นผู้ช่วยเหลือในการก่อกำเนิดโรงเรียน ด้วยเหตุผลที่ต้องการให้ปลูกฝังอาชีพช่างให้กับเยาวชนไทย อีกสองปีต่อมาคือในปี พ.ศ. 2477 โรงเรียนอาชีพช่างกลจึงย้ายไปตั้งแทนที่กรมแผนที่ทหารบก ซึ่งได้ย้ายไปจากบริเวณท่าเรือ โรงเรียนราชินีล่าง จนปีต่อมาได้โอนโรงเรียนอาชีพช่างกลมาอยู่ในสังกัดกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พร้อมชื่อโรงเรียนใหม่ว่า โรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกล ในปี พ.ศ. 2480 ได้มีการดำเนินการเช่าที่ดินตรงข้ามสนามกีฬาแห่งชาติของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสวัสดิโสภณ กรมพระสวัสดิวัดนวิศิษฎ์ เดิม มีเนื้อที่ประมาณ 18 ไร่ ได้จัดสร้างอาคารเรียน 1 หลัง โรงฝึกงานอีก 8 หลัง แล้วย้ายโรงเรียนมัธยมอาชีพช่างกลมาอยู่ที่โรงเรียนใหม่นี้ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2482 ตั้งชื่อโรงเรียนใหม่ว่า "ช่างกลปทุมวัน"
รูปเหมือนพระวิษณุกรรม 69 ปี ปทุมวัน 1 สิงหาคม 2548 อายุการจัดสร้างก็ประมาณ 20 ปีแล้ว สภาพยังสวยมาก ไม่ผ่านการใช้ มาพร้อมกล่องเดิม มีองค์เดียว เป็นองค์ที่ลงรูปไว้ บูชา 1,500.- บริการส่งฟรีแบบ EMS ทั่วประเทศ
ชมพระเครื่องในหมวดนี้เพิ่มเติมได้ที่ เทพเจ้าจีน / เทพเจ้าฮินดู
รับประกันความแท้ 100%
***** วิธีการชำระเงิน คลิกที่นี่ได้เลยครับ *****
นึกถึง พระเครื่อง นึกถึง โจ้ อิศวเรศ พระเครื่อง
พระเครื่อง ตะกรุด พระขุนแผน เครื่องราง พระกริ่ง กุมารทอง กรมหลวงชุมพร
บทความพระเครื่อง เจดีย์แดง พระแท้ - พระปลอม รัชกาลที่ 9 และอีกมากมายที่
โจ้ อิศวเรศ พระเครื่อง 
พระเครื่อง